วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สถาปนิก Idol

สัมภาษณ์สถาปนิกในดวงใจ
พี่ ณรงค์ศักดิ์ ตามสุทรพานิช แห่ง บริษัท ARCHIPLAN
ซอย ปรีดี พนมยงค์42 สุขุมวิท71


     บริษัท ARCHIPLAN ของพี่ณรงค์ศักดิ์ ตามสุนทรพานิช เป็นออฟฟิศเล็กๆที่ดูสวยงามและอบอุ่นตั้งอยู่ในหมู่บ้านภายในซอยปรีดี42 เป็นสถานที่ที่ได้ทำการนัดพี่ณรงค์ศักดิ์เพื่อทำการขอสัมภาษณ์ เมื่อมาถึงก็เข้ามารอสักพักหนึ่งก่อนที่มีณรงค์ศักดิ์จะลงมาจากด้านบนออฟฟิศ


เริ่มสัมภาษณ์
พี่ณรงค์ศักดิ์จะถามว่าตรุษจีนไปเที่ยวไหนหรอ เปล่านะ

รัฐวิทย์    : ขอถามประวัติส่วนตัวพี่ณรงศักดิ์คร่าวๆครับ เรียนจบปีไหน ไปต่อปริญญาโทที่ไหน
พี่ณรงค์ศักดิ์ พี่รหัส 19 ไม่รู้ปีไหนอะ ปีนี้ 56 ก็ไปลบเอาสิ 555 แล้วพี่เรียนจบก็ได้ไปต่อโทที่USC อเมริกา สาขาสถาปัตยกรรม

รัฐวิทย์    :แล้วพอพี่เรียนจบพี่ทำงานเลยหรือเปล่าครับ
พี่ณรงค์ศักดิ์ :ทำเลย ๆ พี่ก็ทำอยู่ที่อเมริกา

รัฐวิทย์    : เห็นงานออกแบบพี่ในเว็บอันนั้นพี่ก็ออกแบบตั้งแต่อยู่อเมริกาเลยใช่ไหมครับ
พี่ณรงค์ศักดิ์ : ใช่ ก็ทำไว้ที่อเมริกา

รัฐวิทย์    : แล้วพี่ประกอบวิชาชีพสถาปนิกตั้งแต่เรียนจบถึงตอนนี้เลยหรือเปล่าครับ หรือมีเปลี่ยนไปทำงานด้านอื่นบ้าง
พี่ณรงค์ศักดิ์ : ก็ทำอาชีพสถาปนิกมาตั้งแต่เรียนจบ แต่ถ้าถามว่ามีทำอาชีพอื่นมั้ย ก็มีอาชีพเอาตัวรอดบ้าง ขายรองเท้า ทำงานร้านขายเหล้า แต่ไม่ได้เปลี่ยนอะ อาชีพวกนั้นทำเล่นอะ ทำเอาตัวรอดตอนอยู่ที่นู้น แต่ก็ไม่เปลี่ยนอะเป็นสถาปนิกมาโดยตลอด

รัฐวิทย์    : แล้วพี่กลับมาที่ไหนปีไหนอะครับ
พี่ณรงค์ศักดิ์ : ปี 92

รัฐวิทย์    : แล้วพี่กลับมาทำงานที่ไทย ทำอะไร ที่ไหนบ้าง ครับ
พี่ณรงค์ศักดิ์ : กลับมาก็มาเปิด ARCIPLAN ที่นี่เลย ARCHIPLAN ก็เป็นบริษัทจากที่อเมริกาแล้วพี่ก็ย้ายจากที่นู้นมาเปิด บริษัทที่นี่ ARCHIPLAN นี้ก็ตั้งแต่ปี 92ถึงตอนนี้เลย

รัฐวิทย์    : แล้วงานของ ARCIPLAN เมืองไทย ที่พี่คิดว่าโดดเด่น หรือเป็นตัวอย่างงานที่ดีพี่คิดว่า เป็นงานชิ้นไหนครับ
พี่ณรงค์ศักดิ์ : ก็ คงหนีไม่พ้น TK PARK แหละมั้ง




รัฐวิทย์    : ตั้งแต่เรียนจบมาถึงตอนนี้ ที่พี่ประกอบวิชาชีพสถาปนิก พี่มีอุปสรรค หรือ ปัญหาอะไรในการทำงานมั้งไหมครับ
พี่ณรงค์ศักดิ์ : ก็ไม่มี

รัฐวิทย์    : ก็คือมั่นคงมาตลอดเลยหรอครับ
พี่ณรงค์ศักดิ์ถามว่ามั่นคงมั้ย ก็ไม่เคยไม่มีงานนะ แต่มีอยู่ที่ว่ามีมากหรือมีน้อย

รัฐวิทย์    : แล้วในฐานะที่ผมเป็นรุ่นน้องที่กำลังจะจบออกไปพี่มีอะไรจะแนะนำในการประกอบวิชาชีพมั้ยครับ เช่น อุปสรรค ปัญหาต่างๆ ทีต้องระวังไว้
พี่ณรงค์ศักดิ์คุณตั้งใจคุณก็ไม่มีปัญหา แค่คุณตั้งใจทำงานก็ไม่มีปัญหา

รัฐวิทย์    : แล้วอย่างเรื่องภาษาแบบนี้หล่ะครับ อย่างภาษาอังกฤษ เรื่องที่กำลังจะเป็น AEC ด้วย
พี่ณรงค์ศักดิ์ก็ไม่น่าจะมีมั้ง อยู่ที่เราแหละ ถามว่าคนไทยพูดไม่ได้ ก็ไม่เกี่ยวนะ ก็เห็นคนไทยไปทำงานสิงคโปร์ตั้งเยอะแยะ ก็ไม่ใช่ว่จะพูดได้ 100% จะสื่อสารกับเค้ารู้เรื่อง ก็ไม่เห็นมีปัญหาหนิ

รัฐวิทย์    : ในการทำงานพี่มีข้อคิดและคติ ว่าอย่างไรบ้างครับ
พี่ณรงค์ศักดิ์ขยันอย่างเดียวอยู่รอด

รัฐวิทย์    : พี่มีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพ ที่วิชาชีพอย่างเราต้องมีครับ
พี่ณรงค์ศักดิ์ก็เห็นว่ามันดีอยู่แล้ว จำเป็นต้องมี วิชาชีพอย่างเรามันก็ต้องมีอยู่แล้ว

รัฐวิทย์    : แล้วพวกเรื่องการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมหล่ะครับ
พี่ณรงค์ศักดิ์คิด ก็จำเป็น เราต้องคิดถึงบ้าง เราต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม รักษ์โลก เพื่อโลก

รัฐวิทย์    : ในฐานะที่พี่เป็นเจ้าของบริษัท พี่อยากให้สถาปนิกที่จบใหม่ออกมาเป็นไปในลักษณะไหนหรือพัฒนาไปด้านไหนบ้าง
พี่ณรงค์ศักดิ์ก็ต้องขยันอะ ขยันอย่างเดียว ไม่ขยันก็จบ

รัฐวิทย์    : แล้วอย่างรุ่นน้องที่จบจากลาดกระบัง ที่มาทำงานกับพี่ พี่มีความคิดเห็นอย่างไร พี่อยากให้คณะเราพัฒนาความรู้ด้านไหนบ้าง
พี่ณรงค์ศักดิ์พี่ไม่รู้นะ ไม่รู้หลักสูตรว่าตอนนี้ไปถึงไหนแล้ว ไม่รู้ว่าเค้าเน้นเรื่องนู้นเรื่องนี้มากเรื่องไหนน้อยเหมือนกันนะ พี่ว่ามันอยู่ที่นักเรียนมั้ง แต่ถามถามว่าเน้นอะไรผมว่า คือ ผมว่าเด็กต้องคิดเองเป็น หลักสูตรผมก็ไม่รู้ว่าเค้าเปลี่ยนอะไรไปมากมาย หรือ วางอะไรไว้แค่ไหน แต่ที่สำคัญเด็กต้องมีความรับผิดชอบ ต้องคิดเองเป็น สำคัญที่สุดมันอยู่ที่ความคิด ความอ่านของตัวคุณเองมากกว่า
อย่างบริษัทพี่นี้ก็มี พนักงานที่จบลาดกระบังทั้งหมด 8คน แต่ละคนเค้าก็มาเรียนรู้ ทุกคนเรียนจบมาได้ผมว่าเค้าก็มี ความรับผิดชอบ เอาใจใส่ อยู่แล้วระดับหนึ่ง แต่ละคนพื้นฐานก็ไม่เหมือนกัน แต่ละคนก็มีชีวิตส่วนตัวไม่เหมือนกัน บางคนบ้านไกลมาสายหน่อย ก็ไม่อะไร มันควรอยู่ที่ผลงานมากกว่า มันเป็นใครก็ได้ถ้าเค้ารับผิดชอบ คนทำงานดีไม่ดีมันไม่ได้อยู่แค่ที่วันนี้ วิชาชีพนี้มันยังไปได้อีกไกล

รัฐวิทย์    : แล้วพี่ได้ลองทำงานมาหลายบริษัทไหมครับ ทั้งตอนพี่อยู่ที่นี้แล้วก็ตอนพี่เรียนที่อเมริกา
พี่ณรงค์ศักดิ์ : ทั้งหมดก็ทำไป 2-3 บริษัทนะตอนอยู่ที่นู้น แต่ที่ไทยก็ทำแค่ก่อนไปเรียนโท ไม่ถึงปีมั้ง ทำอยู่แปปเดียว

รัฐวิทย์    : อย่างตอนที่พี่ไปเรียนต่อปริญญาโทที่อเมริกา ถ้าผมอยากไปเรียนบ้างพี่ว่ามีความจำเป็นไหมครับ ที่ต้องทำงานก่อน ให้มีประสบการณ์
พี่ณรงค์ศักดิ์ : ไม่จำเป็นหรอก มันอยู่ที่เหตุผลของมัน เหตุผลมันมีรึเปล่า ว่าจะทำงานหาเงิน หรือ มีเงินอยู่แล้ว หรือจะทำงานเพื่อสร้างผลงานเอาไปสมัครโรงเรียนดีดี หรืออยากจะมีประสบการณ์เพื่อไปทำต่อที่นู้นได้ เหตุผลมันแล้วแต่สถานภาพของแต่ละบุคคล

รัฐวิทย์    : อยากให้ช่วยเล่าประสบการณ์สมัยที่พี่เรียนที่ลาดกระบังให้ฟังหน่อยครับ ว่าเป็นอย่างไรบ้าง แล้วตอนที่ไปเรียนที่อเมริกาเป็นอย่างไรบ้างครับ
พี่ณรงค์ศักดิ์ : ตอบในเชิงวิชาชีพนะ เมืองไทยให้อะไรได้บ้าง แต่ไม่ได้ให้อะไรหมด เราเด็กเกินที่เราจะรู้ว่ามันใช่ไม่ใช่ เพราะเรายังเรียนอยู่ แต่พอไปเรียนปริญญาโท คุณผ่านมาแล้ว คุณรู้อันไหนมันดีกว่า อันไหนมันควรจะได้ดีกว่า ตอนอยู่ลาดกระบังสมัยนั้นรุ่นนึงมี40คน ผมก็เป็นเด็กก็เที่ยว ทำงานใกล้ๆส่งตลอด ไม่อยู่หอ ทำงานก็ทำงานที่บ้าน ผมไม่ค่อยได้ค้าง แต่ทุกวันนี้เนี่ยประกอบวิชาชีพมันฟลูไทม์มาก ทั้งกลางวันกลางคืน เวลาส่วนตัวก็ต้องทำงาน

รัฐวิทย์    : แล้วพี่ได้กลับไปคณะบ่อยมั้ยครับ พี่ว่าคณะเราเมื่อก่อนตอนนี้พี่อยู่กับตอนนี้มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปเยอะไหมครับ
พี่ณรงค์ศักดิ์ : ก็กลับบ้างนะ นานนานที แต่ผมไม่ขอตอบดีกว่าเพราะผมก็ไม่ค่อยได้เข้าไปนานแล้ว อะไรมันเปลี่ยนแปลงไปบ้างผมก็ไม่แน่ใจ

รัฐวิทย์    : สุดท้ายพี่อยากจะฝากอะไรถึงน้องๆที่กำลังจะจบมาเป็นสถาปนิกในอนาคตบ้างไหมครับ
พี่ณรงค์ศักดิ์ : ตั้งใจ ขยัน ทำงาน เรียนหนังสือ แค่นั้นแหละ เหมือนที่พ่อแม่ คุณสอนคุณยังไงคุณทำแบบนั้นแหละ พ่อแม่คุณเป็นคนส่งเสียคุณ แกบอกให้คุณตั้งใจเรียนขยันเรียน ก็ทำสิ่งนั้น คุณขยันคุณก็ไปแล้วครึ่งหนึ่ง เมื่อก่อนผมว่าผมขยันนะ ผมเป็นคนขยัน ถึงผมจะเกเร ผมก็ขยันนะ ผมรับผิดชอบ ผมเชื่อว่าทุกอย่าง ถ้าคุณขยันคุณเอาใจใส่คุณไม่มีปัญหา

รัฐวิทย์    : พี่ครับ เดียวผมขอถ่ายรูปหน่อยครับ
พี่ณรงค์ศักดิ์ : ผมไม่ถ่ายนะ เอารูปตึกรูปอะไรผมไป ผมไม่ชอบถ่ายรูปนะ






วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Neo-Classic


สถาปัตยกรรมแบบคลาสสิกใหม่(Neoclassic)


          สถาปัตยกรรมแบบคลาสสิคใหม่(Neo-Classic) เป็นรูปแบบสถาปัยกรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากการเคลื่อนไหวของการเกิดศิลปะแบบคลาสสิคสมัยใหม่ เนื่องจากการเผด็จการทางการเมือง การต่อต้านการแบ่งชนชั้นในฝรั่งเศสและการที่ประชาชนได้รับความเจ็บปวดจากการเมืองทำให้ชาวยุโรปตะวันตกหันมาสนใจในศิลปะแบบคลาสสิคอีกครั้ง ประกอบกับการที่การพัฒนาด้านวิทยาการวิทยาศาสตร์ด้านโบราณคดีที่มากขึ้น เพราะขุดค้นพบเมืองกรีกโบราณ คือ เมืองเฮอคูลาเนียน (1738) และเมืองปอมเปอี (1748) ได้ ซึ่งพบศิลปะวัตถุที่มีค่า

            ศิลปะแบบคลาสสิคสมัยใหม่ เริ่มต้นในช่วงยุคกลางของศตวรรษที่ 18 ถึงกลางศตวรรษที่ 19 ซึ่งก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงสมัยนั้นนิยมศิลปะแบบรอคโคโคและแบบบาร็อก ซึ่งมีลักษระที่ฟุ้งเฟ้อและมีรายละเอียดที่ค่อนข้างมาก ในตอนต้นของยุคนี้จึงมีนำแนวความคิดรูปแบบศิลปะโบราณนำกลับมาใช้ใหม่ ลักษณะงานสถาปัตยกรรมในยุคนี้จึงมีแนวคิดและการสร้างงานโดยการนำงานแบบโบราณมาปรับปรุงเกิดเป็นรูปแบบใหม่แต่ยังเคารพในกฏเกณฑ์แนวคิดที่เป็นแบบแผนนั้น ศิลปะในยุคนี้จะย้อนกลับไประลึกงานสมัยโรมัน และโดยเฉพาะศิลปะในรูปแบบอุดมคติของกรีก และยังได้รับหลักการที่คงความเป็นเหคุเป็นผลของช่วงยุคเรเนสซอง ศตวรรษที่ 16 มาด้วย




งานสถาปัตยกรรมแบบ Neo-Classic พบมากในยุโรปและได้รับความนิยมมากในฝรั่งเศส
รูปลักษณะที่ Neo- Classic นำมาใช้และสังเกตได้
1.Symmetrical shape (รูปร่างที่สมมาตร)
2.Tall column that rise the full height of building , colonian (เสาสูงขี้นไปจนเต็มความสูงอาคาร)
3.Triangular pediment (สามเหลี่ยมจั่วด้านหน้าอาคาร)
4.Domed roof (หลังคายอดโดม)

        สไตล์นีโอคลาสสิคเป็นรากฐานในการสถาปัตยกรรมโรมันและกรีก เช่นวิหาร Pantheon ซึ่งเป็นมีลักษณะระเบียงเป็นคอลัมน์โครินเธียและจั่วสามเหลี่ยมที่แนบมากับปลายของแขนตะวันออก การออกแบบของ วิหารPantheon เป็นตัวอย่างนีโอคลาสสิคที่ใช้ตรรกะอย่างเคร่งครัดขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมคลาสสิคประตูชัยโรมันเป็นหนึ่งในแหล่งที่มาหลักของการแสดงออก Neo-Classic กับส่วนไตรภาคีของสี่เสาเท่ากับระยะห่างอย่างไม่มีที่เปรียบ ประตูชัยของคอนสแตนติโรม (AD. 315) จัดความคิดของคอลัมน์ 'เดี่ยว' กับบัวกลับมา

               สถาปัตยกรรมของกรีซและโรมโบราณแรงบันดาลใจการออกแบบ อาคารของสหรัฐ governement บ้านของประธานาธิบดีโทมัสเจฟเฟอร์สัน, Mount Vernon อนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ, The White House, ศาลฎีกาสหรัฐและสหรัฐอเมริกาทุนเป็นเพียงไม่กี่ชิ้นของสถาปัตยกรรม Neo-Classical

The White House ,Washington DC,USA,Goverment building : James Hoban

    สถาปนิกที่มีชื่อเสียงจากยุคกรีกที่มีอิทธิพลต่อสถาปนิกในยุค Neo-classic นี้ในยุโรปมาหลายศตวรรษคือ  AVDREA  PALLADIO
             ซึ่งการออกแบบในยุคหลังจาก Neo-classic ได้มีการปรับใช้ให้เข้ากับประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น เช่นนำมาปรับใช้เป็นอาคารทางราชการ เพราะเนื่องจากในยุคอาคารที่นิยมสร้างเป็นพวกอาคารทางศาสนา และที่พักสำหรับขุนนางหรือกษัตริย์


ประตูชัยฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Arc de triomphe de l'Étoile)(ค.ศ.1806) เป็นอนุสรณ์สถานที่สำคัญในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส อยู่ทางทิศตะวันตกของชองป์-เซลิเซ่ส์ แบบของประตูชัยนั้น ฌอง ชาลแกร็งเป็นผู้ออกแบบ ในรูปแบบศิลปะคลาสสิคใหม่ ที่ได้ดัดแปลงมาจากสถาปัตยกรรมโรมันโบราณ ช่างแกะสลักที่สำคัญของประเทศฝรั่งเศสนั้นก็ได้มีส่วนร่วมในรูปแกะสลักของประตูชัยฝรั่งเศสด้วย

Exteriors:




Interiors:


Columns:





รูปแบบสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากยุค Neo-classic ในประเทศไทย


1.พระที่นั่งอนันตสมาคม
               พระที่นั่งอนันต์ นั้นงดงามด้วยศิลปะแบบอิตาเลียนเรเนอซองส์ ผสมกับศิลปะแบบนีโอคลาสสิค โดยรูปทรงของพระที่นั่งอนันตสมาคมนี้เป็นแบบเดียวกับวิหารเซนต์ปีเตอร์แห่งโรม และโบสถ์เซนต์ปอล กรุงลอนดอน ช่วงบนของอาคารซึ่งเป็นรูปโดมซึ่งทำจากทองแดง มีโดมใหญ่อยู่ตรงกลาง และโดมเล็กๆ อยู่รายรอบอีก 6 โดม ตัวอาคารสร้างจากหินอ่อนสีขาวริ้วลายสีน้ำตาลแก่แกมหม่น สั่งเข้ามาจากเมืองคาร์รารา ประเทศอิตาลี อีกทั้งภายในยังงดงามไปด้วยภาพเขียนแบบเฟรสโก (ภาพเขียนสีบนปูนเปียก) บนเพดานโดม โดยฝีมือของจิตรกรชาวอิตาเลียน คือนายซี. รีโกลี และศาสตราจารย์กาลิเลโอ กินี โดยรูปเหล่านั้นจะเป็นรูปที่แสดงถึงเหตุการณ์เด่นๆ ในแต่ละรัชกาล ตั้งแต่รัชกาลที่ 1-6


2.สถานีรถไฟกรุงเทพ(สถานีรถไฟหัวลำโพง)
            สถานีรถไฟกรุงเทพฯ(หัวลำโพง)เป็นอาคารที่สร้างจากรูปแบบสถานีรถไฟในทวีปยุโรป ตามอิทธิพลของสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิค ลักษณะอาคารใช้หลังคาเป็นโครงเหล็กรูปโค้งเกือบครึ่งวงกลมขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ห้องโถงใหญ่ทั้งหมด บริเวณส่วนกลางเป็นโค้งมุงด้วยวัสดุใสเพื่อให้เกิดแสงสว่างทั่วทั้งห้อง เน้นทางเข้าด้วยโถงยาวเท่าความกว้างของโครง หลังคาห้องโถงนี้ทำเป็นหลังคาแบน มีลูกกรงคอนกรีตโดยรอบ รองรับด้วยเสา 2 ต้นคู่ ตลอดระยะมีการประดับตกแต่งหัวเสาด้วยบัวหัวเสาแบบไอโอนิค ตามแบบคลาสสิค ตั้งอยู่เป็นระยะๆไป และมีห้องลักษณะเป็นห้องสี่เหลี่ยมอยู่ปลายสุดของโค้ง เพื่อหยุดความกว้างของโค้งอาคาร

 3.พระที่นั่งวโรภาษพิมาน (พระราชวังบางปะอิน)



              ถัดจากประตูเทวราชครรไลเข้ามาสู่เขตพระราชฐานชั้นนอก จะพบสถาปัตยกรรมแบบยุโรปทาสีส้มแซมเขียวหลังงามองค์หนึ่ง จัดเป็นพระที่นั่งประธานท่ามหมู่พระที่นั่งทั้งหมดในพระราชวังบางปะอิน เป็นผลงานการออกแบบและก่อสร้างของนายช่างอิตาเลียนนาม ซินยอร์กราซี (มิสเตอร์กราซี) ซึ่งดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จเมื่อปี ๒๔๑๙ พร้อม ๆ กับพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพย์อาสน์
                ซินยอร์กราซีเลือกเอาศิลปะนีโอคลาสสิก ในรูปแบบนีโอเรอเนซองซ์ ซึ่งกำลังได้รับความนิยมอยู่ทั่วโลกในขณะนั้น มาใช้กับพระที่นั่งองค์นี้ หัวใจของสถาปัตยกรรมสมัยนีโอคลาสสิกก็คือ การหวนกลับไปเลียนแบบความรุ่งโรจน์แห่งอดีตในยุคคลาสสิค "กรีก-โรมัน" ดังปรากฏที่มุขด้านหน้าของพระที่นั่งได้ทำเลียนแบบวิหารของกรีกสมัยเฮเลนนิสติก (หรือกรีกตอนปลาย) นั่นคือการใช้หัวเสาแบบโยนิก (ตกแต่งด้วยวงโค้งก้านขด) และหัวเสาแบบคอรินเธียน (เป็นรูปใบอะคันธัสซ้อนกันหลายชั้น) รองรับหน้าบันรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ในขณะเดียวกันก็ได้มีการนำเอาศิลปะเรอเนซองซ์สกุลช่างฝรั่งเศส มาผสมผสานด้วยในส่วนของหอคอยขนาดย่อมที่มีหลังคาทรงพีระมิดตัด ปลายยอดเป็นมงกุฎซึ่งประดับอยู่ตามมุมอาคารทั้งนี้ ซินยอร์กราซีคงเห็นว่า ลำพังเพียงแค่ชาลามุขแบบนีโอคลาสสิกกรีกนั้น ยังดูไม่หรูหราพอสำหรับสถานภาพของ "ท้องพระโรง"
              พระที่นั่งวโรภาษพิมานมีความสูงเพียงชั้นเดียว ลักษณะเป็นห้องโถงแบบใช้รับรองแขก ปัจจุบันยังคงใช้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ในคราวเสด็จแปรพระราชฐาน


     
อ้างอิง : 
http://www.worldofleveldesign.com/categories/architecture/neoclassical/neoclassical_architecture.php
http://www.architecture411.com/notes/note.php?id_note=6
http://en.wikipedia.org/wiki/Neoclassical_architecture

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วิชาชีพสถาปนิกในทรรศนะคติของข้าพเจ้า


สวัสดีครับ ผมชื่อนายรัฐวิทย์ เตชะจงจินตนา ขณะนี้ผมกำลังศึกษาอยู่ที่คณะสถาปัตยกรรมศาตร์ ลาดกระบัง ชั้นปีที่ 4 แล้ว แต่ถ้าถามผมถึงตอนก่อนที่ผมจะได้เข้ามาศึกษาที่สถาบันแห่งนี้ ในคณะนี้ ก็น่าจะต้องย้อนไปถึงตอนสมัยมัธยม ที่โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) เป็นโรงเรียนที่ให้อะไรกับผมไว้หลายๆอย่าง ให้มากกว่าวิชาความรู้ ให้ประสบการณ์ชีวิตต่างๆมากมาย  ให้เพื่อนที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา และที่สำคัญ ที่ผมเข้ามาเรียนที่คณะสถาปัตยกรรมศาตร์ และอยู่จนถึงทุกวันนี้ได้ผมก็คิดว่าเป็นเพราะโรงเรียนบดินทรเดชา ที่ผมจบมานั้นเอง โรงเรียนสอนได้ให้ผมเข้าสังคม พบปะผู้คนมากหน้าหลายตา และสังคมที่ผมชอบตอนนั้น ก็เป็นสังคมของเพื่อนพ้อง น้อง พี่ การทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน ผมทำกิจกรรมต่างๆร่วมกับโรงเรียนมากมาย และช่วงนั้น ทำให้ผมได้รู้ว่าผมเป็นคนรักอิสระ ชอบพบเจอสิ่งใหม่ๆ ไม่ชอบอะไรที่มันซ้ำซากจำเจ ไม่ชอบกฎระเบียบแบบแผนตายตัว ชอบที่จะทำสิ่งแปลกใหม่อยู่เสมอ ทำให้ความคิดในการเรียนต่อด้านการออกแบบจึงเข้ามาอยู่ในหัวของผม 

     
    ในตอนนั้น คำว่า สถาปนิก ในความคิดของผมนั้น ผมอาจยังไม่รู้จักคำคำนี้ดีมากนัก คิดว่า สถาปนิก เป็นนักออกแบบบ้าน เป็นนักดีไซน์ข้าวของเครื่องใช้เจ๋งๆ เป็นผู้ที่ใช้ความคิด สร้างสรรค์ผลงานอันเป็นที่น่าจดจำขึ้นบนโลกใบนี้ รวมถึงการชอบดูภาพยนตร์ไทยของผมในช่วงนั้น เป็นช่วงที่ค่าย GTH กำลังดังมาก และผมคิดว่าผู้กำกับภาพยนตร์หลายๆท่านที่ผมดูก็จบมาจากคณะสถาปัตยกรรมเหมือนกัน และภาพลักษณ์ของการเรียนสถาปัตในหนังก็ช่างเป็นอะไรที่เย้ายวน และเท่เหลือหลายเท่านั้นแหละครับ ทำให้ผมอยากเรียนคณะสถาปัตยกรรมอย่างเต็มตัว และเข้ามาศึกษาในคณะสถาปัตยกรรมศาตร์ ลาดกระบัง เป็นที่เรียบร้อย








      พอเข้ามาปี 1 เท่านั้นแหละครับ ผมก็ต้องเจอสิ่งที่เรียกว่าจุดเปลี่ยนในชีวิตของผมก็เป็นได้ ผมเจอกับวิชาต่างๆที่ไม่คิดว่าจะต้องเจอในความคิดของคณะสถาปัตยกรรมของผม มันเป็นอะไรที่ยากและลำบากสำหรับผมมาก ความคิดเดิมของคณะสถาปัตที่ผมเคยมีถูกเหวี่ยงกระเด็นออกไปจากหัวของผมหมดสิ้น ด้วยพละกำลังอันมหาศาลของทั้ง drawing และ construction ในตอนนั้น ผมท้อและคิดแล้วคิดอีกว่านี่มันยังเหมาะกับเราอยู่มั้ย มันยังเป็นแบบที่เราชอบอยู่หรือป่าว แต่เมื่อผมคิดดูกับคณะอื่นๆแล้ว ก็คงไม่มีคณะไหนที่เหมาะกับผมมากกว่านี้อีกแล้ว และผมก็มักย้อนกลับไปดูภาพยนตร์ที่เคยเป็นแรงบันดาลใจให้ผม กลับมาเป็นกำลังใจให้ผมอีกครั้ง
    
           ผมผ่านปี 1 มาได้ด้วยความที่ยังเหมือนไม่ค่อยมีความรู้อะไรติดอยู่ในหัวเท่าไหร่นัก พร้อมกับต้องมาเจอปี 2 ที่หนักกว่าปี 1 ค่อนข้างมาก เจอทั้งโปรเจคดีไซน์ และ โปรเจคคอน ที่ล้วนแล้วแต่เป็นงานมือ ที่ผมไม่ถนัดเอาสุดๆ แต่ครั้งนี้ถึงงานจะหนักและยากกว่าเดิมมาก ผมก็ไม่คิดจะเปลี่ยนไปเรียนคณะอื่นแล้ว อาจจะเพราะผมเริ่มผูกพันธ์กับงานพวกนี้ วิถีชีวิตแบบนี้ รวมถึงผูกพันธ์กับเพื่อน พี่ และน้อง ที่คอยช่วยเหลือผมมาตลอดจนถึงทุกวันนี้ ผมรักพวกเขาทุกคนมาก และรู้สึกขอบคุณที่คอยช่วยเหลือผมมาตลอด ผมพูดได้เต็มปาก ถ้าไม่มีพวกเขาเหล่านั้นทุกคน ผมไม่รอดแน่ ขอบคุณมากครับ และเมื่อช่วงเวลาในคณะนี้ผ่านไปเรื่อยๆ  มันทำให้ผมได้รู้จักคำว่า สถาปัตยกรรม และ สถาปนิกมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ใช่จากการหาข้อมูลเพิ่มเติม แต่รับรู้จากประสบการณ์ต่างๆในคณะนี้



     และผมก็สามารถผ่านมายังชั้นปีที่ 3ได้ อะไรต่างๆนานา ดูเหมือนจะค่อยๆลงตัวขึ้น รวมถึงงานในชั้นปีที่ 3 สามารถใข้คอมพิวเตอร์ในการทำงานได้ ทำให้มันเริ่มเข้าทางของผมแล้ว มีเวลาว่างมากขึ้นนิดหน่อย ทำให้ผมสามารถได้ลองทำงานประกวดแบบและได้รับรางวัลมาบ้างเล็กน้อย แต่นั้นมันก็เป็นความภาคภูมิใจของผม เป็นแรงและกำลังใจที่ทำให้ผมอยากเรียน ทำงานและประสบความสำเร็จในสายอาชีพนี้ต่อไป



      ตอนนี้ผมกำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 เวลาเหมือนผ่านไปไวมากจากวันแรกที่ผมได้เข้ามาอยู่คณะนี้ ผมผูกพันธ์กับคณะนี้และสายอาชีพนี้มากขึ้นเรื่อยๆ แต่ตอนนี้งานของชั้นปี 4 ก็เริ่มเป็นปัญหากับผมอีกครั้ง ไม่ใช่เพราะผมทำไม่ได้เหมือนเมื่อก่อน แต่เป็นเพราะงานมันช่างเยอะเหลือเกิน จนทำให้ผมแทบไม่มีเวลาว่างจะทำอย่างอื่นได้เลย หรือแม้แต่ทำงานส่งทั้งหมดให้ทันเวลา ก็เป็นปัญหากับผมในตอนนี้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม ผมก็จะพยายามผ่านมันไปให้ได้อีกครั้ง

ทีสิสที่ผมอยากจะทำในอนาคตอันใกล้นี้ ผมอยากทำทีสิส พิพิธภัณฑ์ดนตรีและศิลปะ ที่จะพาทุกคนย้อนไปสู่ดนตรีและศิลปะ ในยุคต่างๆตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ดนตรี ศิลปะ แฟชั่น ในยุคต่างๆที่ทุกคนคิดถึง จะกลับมามีชีวิตอีกครั้ง ประวัติศาสตร์ของศิลปะตั้งแต่อดีต ที่จะเหมือนพาคุณข้ามเวลามาจากยุคต่างๆ ภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ที่จะเป็นทั้งแหล่งเรียนรู้ และแหล่งรวบรวมความทรงจำต่างๆไว้มากมาย


    ถึงตอนนี้ที่ได้เรียนมาทั้งหมดเกี่ยวกับวิชาชีพสถาปนิก ถึงมันจะไม่ได้เป็นอย่างที่คิดไว้ตอนแรก แต่ผมก็คิดว่าผมจะเอาดีในสายงานนี้ ทำงานสถาปนิก ผมว่าผมผูกพันธ์กับมันมากขึ้นเรื่อยๆหรือผมเริ่มรักมันเข้าให้แล้วนั่นหล่ะ มันจะเป็นวิชาที่จะติดตัวผมไปจนตาย หาเลี้ยงผมและครอบครัว ผมจะเป็นสถาปนิกผู้ยิ่งใหญ่ผู้สร้างผลงานอันใหญ่ยิ่งไว้บนโลกนี้ในสักวันให้จงได้ ถึงมันจะเป็นแค่ความฝันที่อาจจะเป็นจริงหรือไม่เป็นก็ตาม แต่มันก็ทำให้ผมมีความสุขที่ผมคิดจะเดินตามมัน

สถาปนิกที่เป็นไอดอล และ เป็นสถาปนิกในดวงใจของผม คือ sou fujimoto ตอนแรกผมก็ไม่ได้รู้จักสถาปนิกท่านนี้เลย จนกระทั่งผมตรวจแบบกับอาจารย์ท่านหนึ่งตอนปี 2 อาจารย์ท่านแนะนำให้ผมไปดูงานของสถาปนิกญี่ปุ่น และ มีชื่อของสถาปนิกท่านนี้อยู่ด้วย ผมเริ่มดูงานของท่านไปเรื่อยๆ และ ชอบมากขึ้น รวมถึงได้หลายๆงานมาเป็นแรงบันดาลใจในการทำงานออกแบบของผมอีกด้วย เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีพื้นที่จำกัด ในการออกแบบสถาปนิกจึงต้องคิดถึงเรื่องของการใช้พื้นที่ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด รวมถึงการคำนึงถึง human scale ที่งานของ sou fujimoto สามารถแสดงและสื่อออกมาในรูปของ space ที่แปลกใหม่และน่าสนใจเป็นอย่างมาก

พ่อถือว่าเป็นบุคคลสำคัญที่สุดในชีวิตของผมคนหนึ่ง พ่อคอยอบรมสั่งสอนผมมาตั้งแต่ยังเล็ก ดุด่าว่ากล่าวในเรื่องที่ไม่ควรทำ ในเรื่องผิด สอนให้รู้ในสิ่งที่ถูกต้อง และ ให้ผมลองทำในสิ่งที่ผมอยากจะลอง และพร้อมจะอยู่เคียงข้างผมเสมอไม่ว่าผลออกมาจะเป็นอย่างไร พ่อให้อิสระในการเลือกใช้ชีวิตของผมมาก แต่ก็ไม่ได้ปล่อยผมเดินไปคนเดียว พ่อยังคอยอยู่ข้างหลังผมเสมอ ถึงทุกวันนี้ผมจะอยู่หอกลับบ้านแค่อาทิตย์ละครั้ง ผมก็ยังรู้สึกว่าพ่อคอยดูแลผมในทุกๆเรื่องอยู่ไม่ต่างจากผมเป็นเด็กแค่เป็นการดูแลอีกในรูปแบบหนึ่ง คอยช่วยเหลือผมในทุกๆเรื่อง คอยสนับสนุนผมอยู่ข้างหลัง และคอยเป็นกำลังใจให้เมื่อผมล้ม และพ่อก็เป็นฮีโร่ประจำใจของผมเสมอ ครอบครัวผมไม่ได้รวยอะไรมากมาย แต่พ่อก็พยายามหาทุกๆอย่างให้ผมและครอบครัวไม่ต้องลำบาก อยู่อย่างสุขสบาย พ่อหาทุกอย่างผมได้มีเหมือนที่คนอื่นเขามี พ่อพยายามหาทางให้ผมได้ไปท่องเที่ยวในที่ที่ผมอยากไป หลายๆที่ ถึงบ้านผมจะไม่ค่อยมีตังมาก แต่พ่อก็บอกว่า อยากให้ลูกมี อยากให้ลูกได้ไป เพราะเมื่อก่อนพ่ออาจจะไม่มี หรือ ไม่ค่อยได้ทำอะไร พ่อเป็นคนที่เติมสิ่งที่ขาดทุกสิ่งทุกอย่างให้กับผม ทำให้ผมไม่ต้องการอะไรมากไปกว่านี้ ถึงที่มีอยู่จะไม่ได้ดีเท่าใครๆ แต่ผมก็ภูมิใจและดีใจมากที่ได้มันมา จากความตั้งใจของพ่อผม

เมื่อผมจบไปเป็นสถาปนิกเต็มตัวแล้ว ถึงมันจะใช่หรือไม่ใช่กับทางของผม มันจะทำให้ผมเจริญก้าวหน้าร่ำรวยหรือไม่ มันจะทำให้ผมมีอนาคตก้าวไกลแค่ไหน มันไม่สำคัญ ผมสัญญาว่าผมจะตั้งใจทำงานเก็บเงิน เลี้ยงพ่อแม่ และครอบครัวให้ไม่ต้องลำบาก ทำให้ครอบครัวได้อยู่อย่างสุขสบาย หายเหนื่อย ที่เหนื่อยมามากกับการเลี้ยงดูผม ไม่ต้องห่วงครับ หลังจากนี้ไปผมจะเป็นคนดูแลทุกคนเอง และ ซักวันผมจะต้องเป็นสถาปนิกผู้ยิ่งใหญ่อย่างที่ฝันไว้ให้ได้



โปรดจำอีกครั้ง ผมนาย รัฐวิทย์ เตชะจงจินตนา 52020069